คั่ว "แมงกีซอน" ใส่เกลือ อาหารมีบางฤดูกาลของชุมชน ทำง่าย ๆ เสิร์ฟพร้อมกับแจ่วบองปลาร้าใส่มะกอก พร้อมกับลวกผักยอดดอกแค เป็นอาหารอิ่มไปหนึ่งมื้อแล้วครับ
แต่ละที่มีชื่อเรียกต่างกัน แต่บ้านผมเอิ้น "แมงกีซอน"
ภาษาอีสานเรียกหลายคำคือ "แมงจีซอน", "แมงอีซอน", "แมงกีซอน" ใช้ในภาษาไทยคือ "แมลงกระชอน" (มักออกเสียงหรือสะกดเป็น "แมงกะชอน") ทางสุโขทัยเรียกว่า "อีแหวก" ทางถิ่นเหนือเรียกว่า "แมงจอน" ประเทศเพื่อนบ้านเขมรเรียก "กระมล" เป็นแมลงจำพวกหนึ่งในวงศ์ Gryllotalpidae มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับจิ้งหรีดการหาแมงกีซอนบ้านผมในแต่ละยุค
ยุคย่ำแมงกีซอน
ตอนเด็กผมเคยไปหาตามหนองน้ำ ก่อนอื่นต้องสร้างแลนมาร์ค ทำคันคูกั้นน้ำเล็กน้อย ประมาณ 2 X 3 เมตร เอาขนาดพอดีกับกำลังพลนะครับ จากหวิดน้ำมาใส่ขุดหน้าดินให้น้ำซึมได้ แล้วใช้ท้าวทั้ง 2 ข้างของเราและเพื่อน ๆ ช่วยกันย่ำ แล้วตัวแมงกีซอนทนไม่ไหวจะลอยขึ้นมาบนน้ำให้เราจับคิดไปแล้วทำไมรุ่นแรงขืนใจน้องแบบนี้ อิอิ
ลืมบอกไปว่า ก่อนที่จะสร้างแลนมาร์ค เราต้องมีทักษะสังเกตุด้วยว่าจะมีตัวแมงจีซอนอาศัยอยู่ไหม ไม่นั้นท่านจะพบและเข้าใจความรู้สึกกับคำว่า "บ่หมาน"
ยุคแมงกีซอน 4G
ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการหา อย่างเช่นใช้หลอดไฟสี "ล่อ" ยามค่ำคืนให้แมงกีซอนบินมาจับในถึงที่ นอกจากนั้นบางชุมชนนำนวัตกรรมลำโพงบลูทูธเปิดเสียงแมงกีซอน อยู่กลางทุ่งในยากกลางคืน "ล่อ" ให้แมงกีซอนหลงเชื่อบินมาหาเพื่อนดู ๆ แล้วเปิดลำโพงบรรยากาศคงไม่เหงาเหมือนลำพัง...ฮ่า ฮ่า
แมงกีซอนเป็นสัตว์เศรษฐกิจและบ่งชี้พื้นที่สมสมบูรณ์
ถึงแม้จะตัวเล็ก ๆ แต่ราคากิโลกรัมละ 180 บาทเลยนะครับ ถือว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจได้เลยนะ และเป็นตัวบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่อีกด้วย ชุมชนมีแมงกีซอนแสดงว่าไม่ได้ใช้สารเคมีที่อันตรายราคาแมงจีซอนเทียบเท่ากับพิซซ่าเลยนะครับ แต่คำว่า “ค่า” ทำไม ไม่เท่ากัน ซึ่งวิถีชุมชนอีสานแต่ละอย่าง นอกจากจะมีคุณค่าแล้วยังมีมูลค่าอีกด้วย