ตำนานเมืองหนองหารสู่พระธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร
เดิมเมืองสกลนครปรากฏนามว่า เมืองหนองหารหลวง ครั้งหนึ่ง "ขุนขอม" ราชบุตรเจ้าเมืองอินทปัตถ์นคร ได้พาครอบครัวบ่าวไพร่ของตนมาสร้างเมืองขึ้นที่ริมหนองหารหลวง ตรงท่านางอาบ (ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นบ้านน้ำพุ บ้านท่าศาลา อำเภอโพนนาแก้ว) สมมุตินามว่าเมืองหนองหารหลวง ขุนขอมได้เป็นเจ้าเมือง ขึ้นกับเมืองอินทปัตถ์นครขุนขอมมีราชบุตรคนหนึ่งชื่อสุรอุทกกุมาร คือ เมื่อวันประสูติมีอัศจรรย์บังเกิดขึ้น มีน้ำพุเกิดขึ้นในที่ใกล้กับเมืองนั้น บิดาจึงให้นามว่า ซ่งน้ำพุ (ปัจจุบันคือบ้านน้ำพุ อำเภอโพนนาแก้ว) ต่อมาพอพระชนม์ของเจ้าสุรอุทก จำเริญวัฒนาครบ ๑๕ พรรษา ขุนขอมผู้เป็นบิดาถึงแก่กรรม ฝ่ายกรมการราษฎร พร้อมกันเชิญเจ้าสุรอุทกขึ้นเป็นเจ้าเมือง สมมุตินามว่า“พระยาสุรอุทก”พระยาสุรอุทก ปกครองบ้านเมืองต่อมามีบุตรชายสององค์ องค์พี่ปรากฏนามว่าเจ้าภิงคาร องค์น้องปรากฏนามว่าเจ้าคำแดง
ขุนขอมมีราชบุตรคนหนึ่งชื่อสุรอุทกกุมาร คือ เมื่อวันประสูติมีอัศจรรย์บังเกิดขึ้น มีน้ำพุเกิดขึ้นในที่ใกล้กับเมืองนั้น บิดาจึงให้นามว่า ซ่งน้ำพุ (ปัจจุบันคือบ้านน้ำพุ อำเภอโพนนาแก้ว) ต่อมาพอพระชนม์ของเจ้าสุรอุทก จำเริญวัฒนาครบ ๑๕ พรรษา ขุนขอมผู้เป็นบิดาถึงแก่กรรม ฝ่ายกรมการราษฎร พร้อมกันเชิญเจ้าสุรอุทกขึ้นเป็นเจ้าเมือง สมมุตินามว่า“พระยาสุรอุทก”พระยาสุรอุทก ปกครองบ้านเมืองต่อมามีบุตรชายสององค์ องค์พี่ปรากฏนามว่าเจ้าภิงคาร องค์น้องปรากฏนามว่าเจ้าคำแดง
พระยาสุรอุทก พร้อมทั้งบุตรชายทั้งสอง คือเจ้าภิงคาร และเจ้าคำแดง |
ในวันหนึ่งพระยาสุรอุทก มีคำสั่งให้เสนาข้าราชการจัดรี้พลโยธาออกตรวจอาณาเขตบ้านเมืองของตน ครั้นตรวจไปถึงปากน้ำมูลนที ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับเขตอินทปัฐนคร เสนาข้าราชการทูลชี้แจงว่าที่นี้เป็นที่ แบ่งเขตเมืองหนองหารหลวงกับเมืองอินทปัฐนคร ตามลำน้ำมูลนที จรดดงพระยาไฟ (ตามแนวแม่น้ำมูล) ขุนขอมซึ่งเป็นบิดาของพระองค์ กับเจ้าเมืองอินทปัตถ์นคร ได้มอบอำนาจให้ ธนมูลนาค เป็นผู้รักษาอาณาเขตต่อไป
พระสุรอุทก ทรงพิโรธว่าปู่กับบิดามอบอำนาจให้ธนมูลนาค ซึ่งเป็นสัตว์เดรัจฉานรักษาอาณาเขตบ้าน เมืองยังไม่สมควร พระยาสุรอุทกชักพระขรรค์คู่กำเนิด ออกทำฤทธิ์ไต่ไปบนห้วงน้ำมูลนที และแกว่งพระขรรค์ แสดงฤทธิ์ข่มขู่ ธนมูลนาคโกรธก็ทำฤทธิ์แสดงตนให้พระยาสุรอุทกเห็นเป็นอัศจรรย์ต่าง ๆ นานา ในขณะนั้น การแสดงฤทธิ์ต่างคนต่างไม่หยุดหย่อนท้อถอยซึ่งกันและกัน จนพระยาสุรอุทก ต้องยกรี้พลโยธากลับบ้านเมืองของตน
ฝ่ายธนมูลนาค เมื่อพระสุรอุทกกลับเมือง ก็ยังไม่ลืมความโกรธแค้นที่พระยาสุรอุทกมาลบหลู่ตน จึงจัดกำลังโยธาเพื่อนงูทั้งหลายที่อยู่ในอำนาจของตนติดตามพระยาสุรอุทกไปถึงหนองหารหลวง สำแดงฤทธิ์พลโยธาทั้งหลายให้เป็นฟานเผือกขาวงามบริสุทธิ์ทุกตัว และเดินผ่านเมืองไปที่โพธิ์สามต้น (ปัจจุบันคือ ต.โพธิไพศาล อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร) ชาวเมืองทั้งหลายเห็นจึงนำเหตุขึ้นกราบเรียนพระยาสุรอุทกในทันที
พระยาสุรอุทก แสดงฤทธิ์ข่มขู่ธนมูลนาค |
พระยาสุรอุทกไม่มีความตรึกตรองอย่างหนึ่งอย่างใด สั่งให้นายพรานทั้งหลายไปช่วยกันล้อมจับเป็นมาถวาย ถ้าจับไม่ได้ให้จับตาย นายพรานรับคำสั่งแล้วพร้อมทั้งราษฎรหลายคนติดตามไปจนถึงโพธิ์สามต้น จึงพบฝูงฟานด่อนกำลังกระจายตัวเล็มหญ้าอยู่ นายพรานจัดคนเข้าล้อมฝูงนาคที่สำแดงตัวเป็นฟานด่อน ฝูงฟานด่อนต่างหลบหนี เร้นกายกำบังตัวหายไปรวดเร็วราวกับความฝัน ยังอยู่แต่ธนมูลนาคตัวเดียวที่ยังคงทำท่าแทะเล็มหญ้าอยู่โดยไม่ได้ตกใจหนีไป แต่ก็ใช่ว่าจะสามารถจับได้โดยง่าย
ธนมูลนาคทำทีเดินหลอกล่อนายพรานกับกำลังโยธาเข้าไปในป่า เดินจนเหนื่อยแต่ก็ยังไม่สามารถจับได้ พอถึงหนองบัวสร้าง (ปัจจุบันคือพื้นที่บ้านหนองบัวสร้าง ต.อุ่มจาน อ.กุสุมาลย์ ตั้งอยู่ติดกับถนนสายนาหว้า-สกลนคร) นาคฟานก็ทำทีเป็นเจ็บขา นายพรานกับพวกก็เข้าล้อมจะจับเอาเป็นก็ไม่ได้ จึงตัดสินใจยิงฟานด่อนตัวนั้นด้วยหน้าไม้อันมีลูกดอกผสมด้วยยาพิษ ถูกฟานด่อนเข้าที่สำคัญ ฝ่ายธนมูลนาค เมื่อถูกยิงครั้นจะต่อสู้กับนายพรานซึ่งไม่มีฤทธิ์เดชอะไรก็กลัวจะเสื่อมเสียเกียรติยศ จึงสูบเอาวิญญาณของตนออกจากร่างฟานด่อน จากนั้นฟานด่อนก็ถึงแก่ความตาย
ภาพนายพรานยิงฟานด่อนด้วยลูกดอกอาบยาพิษ |
เมื่อฟานด่อนตายแล้ว ธนมูลนาคก็ทำฤทธิ์ให้ร่างกายฟานด่อนขยายใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ จนเท่ากับช้างสาร ฝ่ายนายพรานเห็นได้ที ก็ให้กำลังโยธาเจ้ายกหามเอาซากศพฟานด่อน ยกเท่าไหร่ก็ยกไม่ไหวเพราะความหนักเกินประมาณ นายพรานจึงจัดกำลังเข้าลากเอาศพฟานเผือกลงมาทางโพธิ์สามต้น ครั้นถึงริมหนองหารหลวง จะชักลากซากศพฟาน เผือกสักเท่าใดก็ไม่ไหวจริง ๆ นายพรานจึงใช้ม้าเร็วนำเหตุไปกราบเรียนพระยาสุรอุทก
เมื่อพระยาสุรอุทกทรงทราบดังนั้น จึงมีคำสั่งให้เอาเนื้อฟานด่อนมาถวาย เมื่อนายพรานทราบดังนั้น จึงสั่งให้เหล่าทหารและพลเมืองเข้าแร่เนื้อฟานด่อนเพื่อนำเข้าถวายพระยาสุรอุทก แต่แร่อยู่ ๓ วัน ๓ คืน ก็ไม่หมด พระยาสรุอุทกจึงรับสั่งให้แจกจ่ายเนื้อฟานด่อนให้ชาวเมืองได้กินกันทั่วหน้า แต่เนื้อฟานด่อนยังงอกทวีขึ้น จนคนในเมืองได้รับประทานทั่วกัน
พระยาสุรอุทกได้รับประทานเนื้อฟานด่อน (เก้งเผือก) ก็มีความยินดีปรีเปรมเกษมสุข เพราะเป็นเนื้อที่มีรส หวานอร่อยดีกว่าเนื้อสัตว์ต่างๆที่ผ่านมา ฝ่ายพระยานาคเมื่อรวบรวมกำลังโยธาได้แล้วก็ยังไม่หายความโกรธ พากัน ทำฤทธิ์มุดลงไปในบึงหนองหารหลวง
เมืองหนองหารหลวงและพระยาสุระอุทกถูกพญานาคโจมตีแบบไม่รู้ตัว และถูกรัดด้วยบ่วงนาคราชจนเสียชีวิตลากเอาศพไปทิ้งลงแม่น้ำโขง ทางที่ลากศพไปกลายเป็นร่องน้ำชื่อว่า "น้ำกรรม" ต่อมาเพี้ยนเป็น "น้ำก่ำ" เมืองหนองหารหลวงล่มจมธรณีกลายเป็นบึงขนาดใหญ่
พอตกเวลากลางดึก ท่ามกลางเสียงที่เงียบสงัด คนในเมืองนอนหลับกันอย่างสงบเพราะฤทธิ์ของเนื้อฟานด่อน พระยานาคกับกำลังรี้พล จึงยกพล ขุดแผ่นดินเมืองหนองหารหลวงนั้น ให้ล่มลงเป็นน้ำผืนเดียวกับหนองหารหลวง ธนมูลนาคก็ตรงเข้าจับพระยาสุรอุทกด้วยบ่วงบาศก์ที่ทรงอิทธิฤทธิ์และลงเวทย์มนต์คาถาไว้ และชักลากพระยาสุรอุทกลงไปที่แม่น้ำโขง เมื่อธนมูลนาคและเหล่านาคทั้งหลายพากันชักลากพระยาสุรอุทกไปตามทุ่งนาป่าเขา วกไปวนมาหวังให้ได้รับความทุกขเวทนา ความลำบาก พอถึงแม่น้ำโขง พระยาสุรอุทกก็ขาดใจตาย ธนมูลนาค จึงส่งศพพระยาสุรอุทกไปยังเมืองอินทปัตถ์นคร ซึ่งเป็นเมืองเชื้อสายเดิม (หนทางที่ธนมูนนาค ชักลากพระยาสุรอุทกไปยังแม่น้ำโขงนั้นได้กลายเป็นล่องลึกและกลายมาเป็นลำน้ำ ชาวบ้านจึงเรียกลำน้ำนี้ว่าลำน้ำกรรม (ภายหลังเรียกเพี้ยนกลายเป็นลำน้ำก่ำ ในปัจจุบัน) เพราะธนมูลนาคทรมานพระยาสุรอุทกให้ได้รับกรรมเช่นเดียวกับที่พระองค์สั่งให้คนลากร่างฟานด่อนมายังริมหนองหาร ส่วนหนทางที่นายพรานลากฟานด่อนมาถึงริมฝั่งหนองหาน ก็เกิดเป็นร่องลึกจนกลายมาเป็น”คลองน้ำลาก” (ไหลจากตำบลโพธิไพศาลมาตกยังหนองหารในปัจจุบัน)
ฝ่ายเมืองหนองหารหลวง เจ้าภิงคาร เจ้าคำแดง กับญาติวงศ์ข้าราชการ ชาวประชาชนซึ่งรู้สึกตัวกอนจมน้ำ ก็ต่างคนต่างว่ายน้ำออกไปอาศัยอยู่ตามเกาะดอนกลางหนองหาร (ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่า เกาะดอนสวรรค์) ซึ่งเหลือจากกำลังนาคทำร้ายไม่หมด เจ้าภิงคารเจ้าคำแดงก็พาญาติวงศ์บ่าวไพร่ ขี่แพข้ามมาตั้งพักพลกำลังโยธาอยู่ที่โพนเมือง ริมหนองหารหลวงข้างทิศใต้ เจ้าภิงคารเจ้าคำแดง พร้อมด้วยเสนาอำมาตย์ ไปตรวจหาชัยภูมิที่จะตั้งบ้านสร้างเมือง เห็นว่าภูน้ำลอดเชิงชุม เป็นที่ชัยภูมิดี และเป็นที่ประชุมรอยพระพุทธบาทด้วยเจ้าภิงคารจึงตั้งสัตย์อธิษฐานว่า ข้าพเจ้าจะพาครอบครัวมาตั้งบ้านสร้างเมืองขึ้นที่ภูน้ำลอดนี้ เพื่อปฏิบัติรอยพระพุทธบาทด้วย ขอให้เทพยดาผู้มีฤทธิ์ จงช่วยอภิบาลบำรุงให้บ้านเมืองวัฒนาถาวรต่อไป
ในขณะนั้นมีพญานาคผู้ทรงศีลธรรมตัวหนึ่ง ชื่อว่าสุวรรณนาค ซึ่งเป็นผู้รักษารอยพระพุทธบาทพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ที่ภูน้ำลอด มีเกล็ดเป็นทองคำ ได้ผุดขึ้นมาจากพื้นพสุธาดล และอภิเษกให้เจ้าภิงคารเป็นเจ้าเมืองหนองหารหลวง ให้พระนามว่า “พระยาสุวรรณภิงคาร” (แปลว่าน้ำเต้าทองคำ) และได้ราชาภิเษกกับพระนางนารายณ์เจงเวง ราชธิดาของเจ้าเมืองอินทปัตถ์นคร (เชื้อสายเดียวกับผู้เป็นบิดา) เป็นเอกอัครมเหสี พระยาสุวรรณภิงคารและพระนางนารายณ์เจงเวงก็ได้ครองเมืองหนองหารหลวงโดยสวัสดิภาพตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ฝ่ายเมืองหนองหานน้อย (คาดว่าปัจจุบันคือ หนองหาน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี) ไม่มีผู้ครองบ้านเมือง เสนาอำมาตย์จึงทำพิธีอธิษฐานเสี่ยงราชรถหาผู้ครองบ้านเมืองต่อไป รถอันเทียมด้วยม้ามีกำลังก็พามาสู่หนองหารหลวง ราชรถเข้าไปเกยที่บันไดวังเจ้าคำแดงเสนาอำมาตย์ จึงกราบทูลเชิญเจ้าคำแดงไปเป็นเจ้าเมืองหนองหานน้อย เมืองหนองหานน้อยกับเมืองหนองหารหลวงจึงเป็นไมตรีพี่น้องกัน
ครั้นต่อมาถึงศาสนาพระโคดมบรมครูเจ้าของเรานี้ องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระสาวกอรหันต์ จำนวน 1,500 รูป เสด็จมาจากเมืองศรีโคตรบูร แล้วมาฉันข้าวที่ภูกำพร้า หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่าดอยเข็ญใจ
พระองค์ระลึกถึงประวัติพระพุทธเจ้าสามองค์ ที่เข้าสู่ปรินิพพาน แล้วได้มาประชุมรอยพระบาทไว้ที่ภูน้ำลอดเชิงชุมทุกๆองค์ พระองค์เห็นว่าจวนจะเข้าปรินิพพานแล้ว จึงพาสวกพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ไปสู่ภูน้ำลอดเชิงชุม ประทานรอยประทับลงที่แผ่นศิลา ซึ่งฝังอยู่ที่ภูน้ำลอดขณะนั้นพระยาสุวรรณภิงคาร ได้พร้อมบริวารมารับเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าได้กระทำปาฏิหารย์ ให้พระยาสุวรรณภิงคารเห็นเป็นอัศจรรย์ คือแสดงให้มหารัตนมณีสามดวง ออกมาจากพระโอฐษ์ มีรัศมีรุ่งโรจน์โชติช่วงชัชวาลย์ทั่วทั้งอากาศนพดล คนทั้งหลายเห็นพอเส้นขนพองสยองเกล้า
พระยาสุวรรณภิงคารจึงกราบทูตพระผู้มีพระภาคเจ้า ถามปัญหาในข้ออัศจรรย์ พระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสพระสัทธรรมเทศนาว่า ที่นี้เป็นที่อันประเสริฐอันหนึ่งแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ซึ่งได้ตรัสรู้สัพพัญญูเป็นพระพุทธเจ้าในภัทรกัปนี้ ทุกพระองค์เมื่อจวนจะเข้าสู่ปรินิพพาน ก็ได้มาประชุมรอยพระพุทธบาทไว้ที่นี่ รัตนมณี ๓ ก็คือ ควงที่ ๑ พระเจ้ากุกกุฏสนธิ์ ดวงที่ ๒ คือพระโกนาคมน์ ดวงที่ ๓ คือพระเจ้ากัสสปที่ล่วงลับเข้าสู่ปรินิพพาน ดวงที่ ๔ ซึ่งเสด็จออกมาทีหลังก็คือองค์สัมมาสัมพุทธโคดมนี้แล เมื่อหมดศาสนาพระตถาคตครบ ๕,๐๐๐ พรรษาแล้ว ยังจะมีพระศรีอาริยเมตไตรเจ้าองค์หนึ่ง ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในกัปนี้ พระองค์ก็ยังจะได้มาประชุมรอยพระบาทไว้ที่นี้อีกจึงจะหมดภัทรกัป
พระยาสุวรรณภิงคารเมื่อสดับฟังรสธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็มีความโสมนัสยินดีปรีดาปราโมทย์ในพระสัทธรรมเทศนานั้นยิ่งนัก เพราะว่าบ้านเมืองของตนตั้งอยู่ในสถานที่อันประเสริฐ พระยาสุวรรณภิงคาร ชักพระขรรค์ออกจะตัดศรีษะของพระองค์ถวายบูชาพระสัทธรรมเทศนา พระนางนารายณ์เจงเวงราชเทวี เห็นพระองค์ทรงพระสัญญาวิปลาส ดังนั้นจึงเข้ากุมพระหัตถ์แย่งพระขรรค์ไว้ แล้วทูลว่า เมื่อพระองค์ยังทรงพระชนม์มายุอยู่ยืนนาน ก็จะได้อุปถัมภ์บำรุงรอยพระพุทธบาท สืบพระพุทธศาสนาสร้างบุญกุศลสืบไป
พระยาสุวรรณภิงคารได้ยินนางเทวีห้าม ก็สะดุ้งพระทัยรู้สึกถึงคุณพระรัตนตรัย มีพระสติเลื่อมใสในรอยพระพุทธบาท พระยาก็ถอดมงกุฏกษัตริย์ ซึ่งมีราคาแสนตำลึงทองคำมณี สวมลงไปในรอยพระพุทธบาทเป็นเครื่องบูชา แล้วพระยาสุวรรณภิงคารก็อาราธนาพระพุทธเจ้ากับพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ไปรับบิณฑบาตรที่พระราชวังของพระองค์
พระพุทธเจ้ากระทำภัตกิจรับฉันอาหารบิณฑบาตร ทรงอนุโมทนาซึ่งทานแห่งพระยาสุวรรณภิงคารแล้ว ก็เสด์จไปประทับพระบรรทมที่แท่นศิลาอาสน์ ณ ดอยคูหาแล้วก็เสด็จไปเมืองกุฉินารายณ์ พระองค์เสด็จเข้าสู่ปรินิพพานในกาละนั้น
ฝ่ายพระยาสุวรรณภิงคารกับพระนางนารายณ์นารายณ์เจงเวงราชเทวี ออกพร้อมด้วยบริวารสร้างอุโมงค์ก่อเป็นรูปเจดีย์สวมรอยพระพุทธบาทไว้ที่คูน้ำลอดเชิงชุม ให้นามว่าพระเจดีย์พุทธบาทโรมชุมหรือเชิงชุม ซึ่งมีรอบพระพุทธบาททั้ง ๔ พระองค์มารวมกันทับซ้อนอยู่เป็นหลักฐาน ณ แผ่นศิลาข้างล่างอูบมุงที่พระเจดีย์นั้น พระโบราณาจารย์เจ้าจึงอธิบายคาถาไว้ แก่ผู้มีน้ำใจเลื่อมใสศรัทธานมัสการพระเจดีย์นี้ ให้กล่าวว่า "มหาวาปี ปุเร สุวัณณะ ภิงคาระราเชนะ ฐาปิตัง จตุพุทธะ ปาทะวะลัญชัง สิระสานะมามิ" "ข้าพเจ้าขอนมัสการรอยพระพุทธบาทของพระอรหันตสัมพุทธเจ้า 4 พระองค์ ที่พระเจ้าสุวรรณภิงคาระให้สถาปนาไว้ ณ เมืองหนองหารหลวง ด้วยเศียรเกล้าฯ"
พอตกเวลากลางดึก ท่ามกลางเสียงที่เงียบสงัด คนในเมืองนอนหลับกันอย่างสงบเพราะฤทธิ์ของเนื้อฟานด่อน พระยานาคกับกำลังรี้พล จึงยกพล ขุดแผ่นดินเมืองหนองหารหลวงนั้น ให้ล่มลงเป็นน้ำผืนเดียวกับหนองหารหลวง ธนมูลนาคก็ตรงเข้าจับพระยาสุรอุทกด้วยบ่วงบาศก์ที่ทรงอิทธิฤทธิ์และลงเวทย์มนต์คาถาไว้ และชักลากพระยาสุรอุทกลงไปที่แม่น้ำโขง เมื่อธนมูลนาคและเหล่านาคทั้งหลายพากันชักลากพระยาสุรอุทกไปตามทุ่งนาป่าเขา วกไปวนมาหวังให้ได้รับความทุกขเวทนา ความลำบาก พอถึงแม่น้ำโขง พระยาสุรอุทกก็ขาดใจตาย ธนมูลนาค จึงส่งศพพระยาสุรอุทกไปยังเมืองอินทปัตถ์นคร ซึ่งเป็นเมืองเชื้อสายเดิม (หนทางที่ธนมูนนาค ชักลากพระยาสุรอุทกไปยังแม่น้ำโขงนั้นได้กลายเป็นล่องลึกและกลายมาเป็นลำน้ำ ชาวบ้านจึงเรียกลำน้ำนี้ว่าลำน้ำกรรม (ภายหลังเรียกเพี้ยนกลายเป็นลำน้ำก่ำ ในปัจจุบัน) เพราะธนมูลนาคทรมานพระยาสุรอุทกให้ได้รับกรรมเช่นเดียวกับที่พระองค์สั่งให้คนลากร่างฟานด่อนมายังริมหนองหาร ส่วนหนทางที่นายพรานลากฟานด่อนมาถึงริมฝั่งหนองหาน ก็เกิดเป็นร่องลึกจนกลายมาเป็น”คลองน้ำลาก” (ไหลจากตำบลโพธิไพศาลมาตกยังหนองหารในปัจจุบัน)
ฝ่ายเมืองหนองหารหลวง เจ้าภิงคาร เจ้าคำแดง กับญาติวงศ์ข้าราชการ ชาวประชาชนซึ่งรู้สึกตัวกอนจมน้ำ ก็ต่างคนต่างว่ายน้ำออกไปอาศัยอยู่ตามเกาะดอนกลางหนองหาร (ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่า เกาะดอนสวรรค์) ซึ่งเหลือจากกำลังนาคทำร้ายไม่หมด เจ้าภิงคารเจ้าคำแดงก็พาญาติวงศ์บ่าวไพร่ ขี่แพข้ามมาตั้งพักพลกำลังโยธาอยู่ที่โพนเมือง ริมหนองหารหลวงข้างทิศใต้ เจ้าภิงคารเจ้าคำแดง พร้อมด้วยเสนาอำมาตย์ ไปตรวจหาชัยภูมิที่จะตั้งบ้านสร้างเมือง เห็นว่าภูน้ำลอดเชิงชุม เป็นที่ชัยภูมิดี และเป็นที่ประชุมรอยพระพุทธบาทด้วยเจ้าภิงคารจึงตั้งสัตย์อธิษฐานว่า ข้าพเจ้าจะพาครอบครัวมาตั้งบ้านสร้างเมืองขึ้นที่ภูน้ำลอดนี้ เพื่อปฏิบัติรอยพระพุทธบาทด้วย ขอให้เทพยดาผู้มีฤทธิ์ จงช่วยอภิบาลบำรุงให้บ้านเมืองวัฒนาถาวรต่อไป
ในขณะนั้นมีพญานาคผู้ทรงศีลธรรมตัวหนึ่ง ชื่อว่าสุวรรณนาค ซึ่งเป็นผู้รักษารอยพระพุทธบาทพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ที่ภูน้ำลอด มีเกล็ดเป็นทองคำ ได้ผุดขึ้นมาจากพื้นพสุธาดล และอภิเษกให้เจ้าภิงคารเป็นเจ้าเมืองหนองหารหลวง ให้พระนามว่า “พระยาสุวรรณภิงคาร” (แปลว่าน้ำเต้าทองคำ) และได้ราชาภิเษกกับพระนางนารายณ์เจงเวง ราชธิดาของเจ้าเมืองอินทปัตถ์นคร (เชื้อสายเดียวกับผู้เป็นบิดา) เป็นเอกอัครมเหสี พระยาสุวรรณภิงคารและพระนางนารายณ์เจงเวงก็ได้ครองเมืองหนองหารหลวงโดยสวัสดิภาพตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ฝ่ายเมืองหนองหานน้อย (คาดว่าปัจจุบันคือ หนองหาน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี) ไม่มีผู้ครองบ้านเมือง เสนาอำมาตย์จึงทำพิธีอธิษฐานเสี่ยงราชรถหาผู้ครองบ้านเมืองต่อไป รถอันเทียมด้วยม้ามีกำลังก็พามาสู่หนองหารหลวง ราชรถเข้าไปเกยที่บันไดวังเจ้าคำแดงเสนาอำมาตย์ จึงกราบทูลเชิญเจ้าคำแดงไปเป็นเจ้าเมืองหนองหานน้อย เมืองหนองหานน้อยกับเมืองหนองหารหลวงจึงเป็นไมตรีพี่น้องกัน
ครั้นต่อมาถึงศาสนาพระโคดมบรมครูเจ้าของเรานี้ องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระสาวกอรหันต์ จำนวน 1,500 รูป เสด็จมาจากเมืองศรีโคตรบูร แล้วมาฉันข้าวที่ภูกำพร้า หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่าดอยเข็ญใจ
พระองค์ระลึกถึงประวัติพระพุทธเจ้าสามองค์ ที่เข้าสู่ปรินิพพาน แล้วได้มาประชุมรอยพระบาทไว้ที่ภูน้ำลอดเชิงชุมทุกๆองค์ พระองค์เห็นว่าจวนจะเข้าปรินิพพานแล้ว จึงพาสวกพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ไปสู่ภูน้ำลอดเชิงชุม ประทานรอยประทับลงที่แผ่นศิลา ซึ่งฝังอยู่ที่ภูน้ำลอดขณะนั้นพระยาสุวรรณภิงคาร ได้พร้อมบริวารมารับเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าได้กระทำปาฏิหารย์ ให้พระยาสุวรรณภิงคารเห็นเป็นอัศจรรย์ คือแสดงให้มหารัตนมณีสามดวง ออกมาจากพระโอฐษ์ มีรัศมีรุ่งโรจน์โชติช่วงชัชวาลย์ทั่วทั้งอากาศนพดล คนทั้งหลายเห็นพอเส้นขนพองสยองเกล้า
พระยาสุวรรณภิงคารจึงกราบทูตพระผู้มีพระภาคเจ้า ถามปัญหาในข้ออัศจรรย์ พระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสพระสัทธรรมเทศนาว่า ที่นี้เป็นที่อันประเสริฐอันหนึ่งแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ซึ่งได้ตรัสรู้สัพพัญญูเป็นพระพุทธเจ้าในภัทรกัปนี้ ทุกพระองค์เมื่อจวนจะเข้าสู่ปรินิพพาน ก็ได้มาประชุมรอยพระพุทธบาทไว้ที่นี่ รัตนมณี ๓ ก็คือ ควงที่ ๑ พระเจ้ากุกกุฏสนธิ์ ดวงที่ ๒ คือพระโกนาคมน์ ดวงที่ ๓ คือพระเจ้ากัสสปที่ล่วงลับเข้าสู่ปรินิพพาน ดวงที่ ๔ ซึ่งเสด็จออกมาทีหลังก็คือองค์สัมมาสัมพุทธโคดมนี้แล เมื่อหมดศาสนาพระตถาคตครบ ๕,๐๐๐ พรรษาแล้ว ยังจะมีพระศรีอาริยเมตไตรเจ้าองค์หนึ่ง ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในกัปนี้ พระองค์ก็ยังจะได้มาประชุมรอยพระบาทไว้ที่นี้อีกจึงจะหมดภัทรกัป
พระยาสุวรรณภิงคารเมื่อสดับฟังรสธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็มีความโสมนัสยินดีปรีดาปราโมทย์ในพระสัทธรรมเทศนานั้นยิ่งนัก เพราะว่าบ้านเมืองของตนตั้งอยู่ในสถานที่อันประเสริฐ พระยาสุวรรณภิงคาร ชักพระขรรค์ออกจะตัดศรีษะของพระองค์ถวายบูชาพระสัทธรรมเทศนา พระนางนารายณ์เจงเวงราชเทวี เห็นพระองค์ทรงพระสัญญาวิปลาส ดังนั้นจึงเข้ากุมพระหัตถ์แย่งพระขรรค์ไว้ แล้วทูลว่า เมื่อพระองค์ยังทรงพระชนม์มายุอยู่ยืนนาน ก็จะได้อุปถัมภ์บำรุงรอยพระพุทธบาท สืบพระพุทธศาสนาสร้างบุญกุศลสืบไป
พระยาสุวรรณภิงคารได้ยินนางเทวีห้าม ก็สะดุ้งพระทัยรู้สึกถึงคุณพระรัตนตรัย มีพระสติเลื่อมใสในรอยพระพุทธบาท พระยาก็ถอดมงกุฏกษัตริย์ ซึ่งมีราคาแสนตำลึงทองคำมณี สวมลงไปในรอยพระพุทธบาทเป็นเครื่องบูชา แล้วพระยาสุวรรณภิงคารก็อาราธนาพระพุทธเจ้ากับพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ไปรับบิณฑบาตรที่พระราชวังของพระองค์
พระพุทธเจ้ากระทำภัตกิจรับฉันอาหารบิณฑบาตร ทรงอนุโมทนาซึ่งทานแห่งพระยาสุวรรณภิงคารแล้ว ก็เสด์จไปประทับพระบรรทมที่แท่นศิลาอาสน์ ณ ดอยคูหาแล้วก็เสด็จไปเมืองกุฉินารายณ์ พระองค์เสด็จเข้าสู่ปรินิพพานในกาละนั้น
ฝ่ายพระยาสุวรรณภิงคารกับพระนางนารายณ์นารายณ์เจงเวงราชเทวี ออกพร้อมด้วยบริวารสร้างอุโมงค์ก่อเป็นรูปเจดีย์สวมรอยพระพุทธบาทไว้ที่คูน้ำลอดเชิงชุม ให้นามว่าพระเจดีย์พุทธบาทโรมชุมหรือเชิงชุม ซึ่งมีรอบพระพุทธบาททั้ง ๔ พระองค์มารวมกันทับซ้อนอยู่เป็นหลักฐาน ณ แผ่นศิลาข้างล่างอูบมุงที่พระเจดีย์นั้น พระโบราณาจารย์เจ้าจึงอธิบายคาถาไว้ แก่ผู้มีน้ำใจเลื่อมใสศรัทธานมัสการพระเจดีย์นี้ ให้กล่าวว่า "มหาวาปี ปุเร สุวัณณะ ภิงคาระราเชนะ ฐาปิตัง จตุพุทธะ ปาทะวะลัญชัง สิระสานะมามิ" "ข้าพเจ้าขอนมัสการรอยพระพุทธบาทของพระอรหันตสัมพุทธเจ้า 4 พระองค์ ที่พระเจ้าสุวรรณภิงคาระให้สถาปนาไว้ ณ เมืองหนองหารหลวง ด้วยเศียรเกล้าฯ"
VDO เมืองหนองหาร