ประวัติศาสตร์จังหวัดสกลนคร

ภาพเก่าจังหวัดสกลนคร

ประวัติศาสตร์จังหวัดสกลนคร

สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา

ดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (รวมทั้งบริเวณฝั่งซ้ายของแม่น้าโขง ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) เดิมเรียกว่า อาณาจักรโคตรบูรณ์ ซึ่งเป็นอาณาจักรของขอมสมัยเรืองอ้านาจในดินแดนแถบนี้ ขอมได้ตั้งเมืองศรีโคตรบูรณ์เป็นราชธานี และได้ตั้งเมืองพิมายเป็นเมืองอุปราชหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของอาณาจักรโคตรบูรณ์ คือ พระธาตุพนมและพระธาตุอื่นๆ ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน
.
ในดินแดนที่เป็นอาณาจักรโคตรบูรณ์ดังกล่าว เมืองหนองหานหลวงก็เป็นเมืองหนึ่งของอาณาจักรนี้ ช่วงเวลาที่มีหลักฐานประกอบการตั้งชุมชนรอบๆ หนองหานอยู่ในสมัยของขอมเรืองอ้านาจดังกล่าว ปรากฏในโบราณสถานหลายแห่ง เช่น พระธาตุนารายณ์เจงเวงหรือพระธาตุนารายณ์เชงเวง พระธาตุภูเพ็ก พระธาตุดุม และสะพานขอม เป็นต้น ประกอบกับต้านานอุรังคนิทานได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในสมัยพุทธกาล กรุงอินทรปัต มีอ้านาจครอบคลุมดินแดนแถบนี้ และมีเมืองหนองหารหลวงขึ้นกับกรุงอินทรปัต เมืองหนองหารหลวงเป็นเมืองเอกที่เป็นศูนย์กลางอ้านาจปกครองของขอม
.
หลักฐานที่แสดงว่าเมืองหนองหารหลวงเป็นเมืองเอกของขอมที่ปรากฏชัดคือ ศิลปวัตถุที่พบในบริเวณแถบนี้สร้างด้วยศิลปแบบขอมทั้งสิ้น โดยใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุส้าคัญ ประกอบด้วยหน้าบันชั้นมุข ฯลฯ แบบขอมซึ่งสรุปได้ว่า กลุ่มผู้คนที่อาศัยในดินแดนแถบนี้มีความรู้ในการสร้างศิลปแบบขอมเป็นอย่างดี หลักฐานที่อ้างได้ไม่เฉพาะแต่โบราณสถานเท่านั้น ในโบราณวัตถุหลายอย่าง ได้ขุดค้นพบในรอบๆ บริเวณหนองหาร ดังเช่นที่หมู่บ้านดงชน บ้านหนองสระ บ้านเหล่ามะแงว ต้าบลดงชน อ้าเภอเมืองสกลนคร เป็นต้น
.
ในศิลาจารึกที่มีผู้ค้นพบและนำมาตั้งไว้ ณ วัดสุปัฏวนาราม อุบลราชธานี ได้เอ่ยถึงพระนามของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ซึ่งบรรดาปราชญ์ทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ถือว่าเป็นกษัตริย์องค์สำคัญองค์หนึ่งของกัมพูชาซึ่งมีเดชานุภาพมาก นับแต่รัชกาลของพระองค์เป็นต้นมา อิทธิพลของขอมได้แพร่หลายทั่วไปในอีสาน (ยกเว้นบริเวณลุ่มน้ำชี) ลัทธิศาสนาฮินดูและพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานก็แพร่หลายตามล้าน้าโขงขึ้นไปจนถึงสกลนคร และอุดรธานี เมืองโบราณที่สำคัญเช่น เมืองหนองหารหลวง (สกลนคร) ก็คงเจริญขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๖ นี้ สังเกตได้จากลักษณะผังเมืองรูปสี่เหลี่ยมแบบสม่ำเสมอ สระน้ำและ ศาสนสถานที่สำคัญ คือ ปราสาทพระธาตุนารายณ์เจงเวง และพระธาตุดุมเป็นต้น
.
การเข้ามามีอิทธิพลของขอมในดินแดนแถบนี้ ยังไม่ทราบว่าเข้ามามีอิทธิพลโดยลักษณะใด เช่น อาจเป็นความนิยมของเจ้าผู้ครองนครเมืองต่างๆ ที่จะรับวัฒนธรรมฮินดูเพื่อส่งเสริมบารมีแห่งฐานะความเป็นกษัตริย์ของตนเองหรืออาจตกอยู่ใต้อิทธิพลทางการเมือง หรือมีความสัมพันธ์กันโดยการแต่งงานก็อาจเป็นได้

สมัยกรุงศรีอยุธยาและสมัยกรุงธนบุรี

หลังจากขอมเสื่อมอ้านาจและหมดอิทธิพลจากดินแดนแถบนี้แล้ว ก็ไม่ปรากฏหลักฐานอะไรหลงเหลืออีกเลย เข้าใจว่าอำนาจของกรุงศรีอยุธยาอาจแผ่ไปไม่ถึงดินแดนแถบนี้ สังเกตได้จากศิลปะและวัฒนธรรมของอยุธยาไม่ปรากฏให้เห็นเลย มีปรากฏให้เห็นเฉพาะอิทธิพลของขอม และอาณาจักรล้านช้างเท่านั้น
.
ในหนังสือประวัติศาสตร์อีสาน กล่าวว่า ภายหลังรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ไปแล้วอิทธิพลของวัฒนธรรมขอมก็ค่อยๆ เสื่อมลง ในภาคอีสานไม่ค่อยปรากฏการสร้างปราสาทหินขึ้นมาแต่อย่างใด เมื่อตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ก็สลายตัว อันเนื่องมาจากการแพร่หลายของพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์บรรดาปราสาทหินและศาสนสถานแต่เดิมหลายแห่งถูกเปลี่ยนให้เป็นวัดหรือพุทธสถานแทน
.
จากข้อความดังกล่าวข้างต้นได้สอดคล้องกับหลักฐานที่ปรากฏในประวัติต้านานพงศาวดารเมืองสกลนครของพระยาประจันตะประเทศธานี (โง่นคำ) ที่กล่าวไว้ว่า เมื่อสิ้นพระชนม์พระยาสุวรรณภิงคารแล้ว เสนาบดีข้าราชการผู้ใหญ่ชาวเขมรก็สมมุติกันเป็นเจ้าเมืองต่อมา เมื่อปีหนึ่งเกิดทุกขภัยคือฝนแล้ง ราษฎรไม่ได้ทำนาถึง ๗ ปี เกิดความอัตคัดขัดสนข้าวปลาอาหารเป็นอันมาก เจ้าเมือง กรมการและราษฎรชาวเขมรที่อยู่ในเมืองหนองหารหลวงก็ทิ้งเมืองให้เป็นเมืองร้าง แต่จะร้างมาได้กี่ปีไม่ปรากฏปรากฏแต่ที่ดินว่างเปล่าหลงเหลืออยู่รอบบริเวณพระธาตุฯ
.
ภายหลังขอมเสื่อมอำนาจลง บริเวณดินแดนลุ่มน้าโขงของภาคอีสานในยุคนั้นกลับรุ่งเรืองขึ้น อันเนื่องมาจากการเจริญขึ้นของอาณาจักรลานช้างซึ่งเกิดขึ้นแทนที่อาณาจักรโคตรบูรณ์ หลักฐานที่ปรากฏว่าอาณาจักรลานช้างได้รุ่งเรืองถึงดินแดนแถบนี้ คือ พระธาตุก่องข้าวน้อย ที่บ้านตาดทองจังหวัดยโสธร พระธาตุบ้านแก้ง อ้าเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เป็นต้น และในสมัยต่อมาอิทธิพลของอาณาจักรลานช้างก็รุ่งเรืองในดินแดนแถบนี้
.
หลักฐานที่สามารถยืนยันได้ว่า ดินแดนในบริเวณจังหวัดสกลนครในสมัยอยุธยาตอนปลายต่อเนื่องกับสมัยกรุงธนบุรีได้รับอิทธิพลของอาณาจักรลานช้างอีกประการหนึ่ง คือ ในสมัยนั้นชาวผู้ไทและชาวโส้ (ชนพื้นเมืองดั้งเดิมของจังหวัดสกลนคร) ได้อพยพเคลื่อนย้ายมาจากฝั่งซ้ายแม่น้าโขง การอพยพดังกล่าวเกิดขึ้นหลายรุ่น จึงท้าให้ชาวผู้ไทและชาวโส้ อยู่กระจัดกระจายบริเวณพื้นที่ในจังหวัดนครพนมและจังหวัดสกลนคร และต่อมาก็ได้เจริญรุ่งเรืองกลายเป็น เมืองพรรณานิคม และเมืองกุสุมาลย์ ซึ่งในปัจจุบันอำเภอพรรณานิคมจะปรากฏชาวผู้ไทอยู่อาศัยเป็นส่วนมาก ในขณะที่อำเภอกุสุมาลย์ในปัจจุบันก็มีชาวโส้อาศัยอยู่เป็นจ้านวนมากเช่นเดียวกัน
.
ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาและธนบุรีเป็นเมืองหลวงของไทยนั้น ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดสกลนครโดยตรงไม่ปรากฏเรื่องราวไว้แต่อย่างใด เข้าใจว่าในสมัยอยุธยาเป็นราชธานี จังหวัดสกลนครคงเป็นชุมชนเล็กๆ ที่แทบจะไม่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เลย และคงได้รับอิทธิพลของอาณาจักรลานช้างมากกว่าอาณาจักรอยุธยาดังกล่าวแล้ว ในสมัยกรุงธนบุรีก็ไม่ปรากฏเรื่องราวเกี่ยวกับจังหวัดสกลนครอยู่เลย เพียงปรากฏในพงศาวดารบางฉบับที่กล่าวถึงสงครามระหว่างกรุงธนบุรีกับอาณาจักรลานช้าง ที่กล่าวพาดพิงถึงจังหวัดนครพนมบ้างเท่านั้น เข้าใจว่าจังหวัดสกลนครในสมัยนั้นคงขึ้นอยู่กับอาณาจักรลานช้างบ้าง เป็นเมืองขึ้นของไทยบ้าง แล้วแต่ฝ่ายใดจะมีอำนาจมากกว่ากัน
.
แต่ได้ปรากฏหลักฐานแน่ชัดอีกครั้งในสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งจะได้กล่าวถึงในตอนต่อไป

สมัยรัตนโกสินทร์

ประวัติศาสตร์ชุมชนในเขตจังหวัดสกลนคร ได้ขาดหายไปหลังจากที่ขอมหมดอำนาจลงดังกล่าว แต่ได้ทราบหลักฐานแน่ชัดอีกครั้งหนึ่งจากเพี้ยศรีครชุม หัวหน้าปฏิบัติพระธาตุเชิงชุม เล่าสืบต่อกันมา แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าปีใด ศักราชเท่าใด และในแผ่นดินรัชสมัยใดในแผ่นดินสยาม จะเป็นรัชกาลที่เท่าใดไม่ปรากฏ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ อพยพครอบครัวมารักษาพระธาตุเชิงชุมอยู่หลายปี อุปฮาดได้พาครอบครัวบ่าวไพร่ขึ้นมาอยู่ในบ้านธาตุเชิงชุม พร้อมทั้งได้เกลี้ยกล่อมบ่าวไพร่ให้มาตั้งภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดเชิงชุมหลายตำบล
.
พระเจ้าแผ่นดินสยาม โปรดให้ตั้งอุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์เป็นพระธานี เปลี่ยนนามเมืองหนองหารหลวงเป็นเมืองสกลทวาปี ให้พระธานีเป็นเจ้าเมือง ขึ้นแก่กรุงสยามต่อมาหลายชั่วเจ้าเมือง
.
ในปีพุทธศักราช ๒๓๗๐ ผู้ครองเมืองเวียงจันทน์คิดขบถต่อกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรุงสยาม (รัชกาลที่ ๓) โปรดฯ ให้กองทัพหลวงขึ้นมาปราบปรามเมืองเวียงจันทน์ แม่ทัพได้มาตรวจราชการเมืองสกลทวาปี เจ้าเมืองกรมการเมืองสกลทวาปี ไม่ได้เตรียมกำลังทหารลูกกระสุนดินดำ เสบียงอาหารไว้ตามคำสั่งแม่ทัพ แม่ทัพเห็นว่าเจ้าเมืองสกลทวาปีขบถกระท้าการขัดขืนอ้านาจอาญาศึก จึงเอาตัวพระธานีเจ้าเมืองสกลทวาปี ไปประหารชีวิตเสียที่บ้านหนองทรายขาว แม่ทัพนายกองฝ่ายสยามกวาดต้อนครอบครัวลงไปอยู่เมืองกระบิลจันทคามเป็นอันมาก ยังเหลืออยู่ได้รักษาพระธาตุเชิงชุมแต่พวกเพี้ยศรีครชุมบ้านหนองเหียน บ้านจันทร์เพ็ญ บ้านอ้อมแก้ว บ้านนาเวง บ้านพาน บ้านนาดี บ้านวังยาง บ้านผ้าขาว บ้านพันนาเท่านั้น
.
เมืองสกลนครก็เป็นเมืองร้างไม่มีเจ้าเมืองปกครองอีกครั้งหนึ่ง เมื่อกองทัพไทยยกไปปราบเจ้าอนุเมืองเวียงจันทน์นั้น สามารถเข้าตีทัพอนุเจ้าเมืองเวียงจันทน์จนแตกพ่าย เข้ายึดเมืองได้ เจ้าอนุหนีไปอยู่เมืองมหาชัยกองแก้ว
.
พ.ศ. ๒๓๗๕ กองทัพพระราชสุภาวดี ยกติดตามไปตีเมืองมหาชัยกองแก้วแตก เจ้าอนุวงศ์และพระพรหมอาษา (จุลนี) เจ้าเมืองมหาชัยกองแก้ว หนีไปอยู่เมืองญวนและถึงแก่กรรมที่นั้น
พ.ศ. ๒๓๗๘ อุปฮาดตีเจา (คำสาย) ราชวงศ์ (ดำ) และท้าวชินผู้น้อง ได้พาครอบครัวบ่าวไพร่มาพึ่งบรมโพธิสมภารพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ได้เข้าหาแม่ทัพที่เมืองสกลทวาปี เจ้าเมืองอุปราชและมหาสงครามแม่ทัพสั่งให้น้าตัวลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๓ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้ามแม่น้าโขงมาตั้งภูมิลำเนาในเมืองสกลทวาปีได้
.
พ.ศ. ๒๓๘๐ อุปฮาดตีเจา (คำสาย) ป่วยถึงแก่กรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ราชวงศ์ (ดำ) เมืองมหาชัยเป็นเจ้าเมืองสกลทวาปี ท้าวชินเป็นราชวงศ์เมืองสกลทวาปี ราชบุตร (ด่าง) เมืองกาฬสินธุ์เป็นราชบุตรเมืองสกลทวาปี
.
พ.ศ. ๒๓๘๑ ราชวงศ์ (ดำ) เจ้าเมืองสกลทวาปีลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมตั้งให้ราชวงศ์ (ดำ) เป็นพระยาประจันตประเทศธานี เจ้าเมืองสกลนครเปลี่ยนนามสกลทวาปีเป็นเมืองสกลนคร และโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแบ่งเขตแดนเมืองนครพนมเมืองมุกดาหาร เมืองหนองหาร ให้เป็นเขตแดนเมืองสกลนคร โดยเฉพาะต่างหากจากเมืองอื่นการปกครองเมืองสกลนครในยุคนี้นั้น ยังคงใช้ระบอบการปกครองหัวเมืองโบราณอยู่ผู้ปกครอง (กรมการเมือง) ประกอบด้วย เจ้าเมือง อุปฮาด (อุปราช) ราชวงศ์ และราชบุตร ซึ่งแต่ละตำแหน่งมีอ้านาจหน้าที่ ดังนี้
 
เจ้าเมืองเป็นผู้ที่มีหน้าที่บังคับบัญชาสิทธิขาด สั่งราชการบ้านเมืองทั้งปวงและบังคับบัญชากรมการเมือง หรือกิจการเกี่ยวกับการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขของราษฎรในแคว้นบ้านเมืองที่ปกครอง การแต่งตั้งถอดถอนคณะกรมการเมืองเป็นพระราชอ้านาจของพระเจ้าแผ่นดิน นอกจากการแต่งตั้งถอดถอนกรมการเมืองระดับรองเท่านั้นจึงเป็นอ้านาจของเจ้าเมือง

อุปฮาด (อุปราช) สมัยต่อมาเรียกปลัดอาเภอ เป็นผู้มีหน้าที่ทำการแทนในกรณีเจ้าเมืองไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ หน้าที่โดยเฉพาะคือการปกครองทั่วไป เป็นหัวหน้าในทางที่ปรึกษาหารือข้อราชการกรมการเมืองต้าแหน่งรองลงไป และเป็นผู้รวบรวมสรรพบัญชีส่วยอากร ตามที่ทางราชการกำหนดและยังทำหน้าที่ออกประกาศส่งเกณฑ์กำลังพลเมืองเพื่อทำศึกสงครามอีกด้วย

ราชวงศ์ ต่อมาเรียกสมุหอำเภอ โดยมากมักแต่งตั้งจากเครือญาติของเจ้าเมืองแต่ไม่เสมอไป ทั้งนี้แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มีหน้าที่ท้าการแทนอุปฮาดในกรณีที่อุปฮาดไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ แต่หน้าที่ตามปกติแล้วเกี่ยวกับอรรถคดีตัดสินถ้อยความและควบคุมการเก็บรักษาผลประโยชน์แผ่นดินของเมือง

ราชบุตร ต่อมาเรียก เสมียนอำเภอ มีหน้าที่ช่วยราชวงศ์ ควบคุมการเก็บรักษาผลประโยชน์แผ่นดินของเมือง และเป็นผู้น้าเงินส่วยส่งเจ้าพนักงานใหญ่ในหัวเมืองเอกหรือเมืองหลวงส่วนอำนาจการปกครองจากกรุงเทพฯ มีการควบคุมหัวเมืองเล็กเมืองน้อยพอสรุปได้ คืออนุมัติการตั้งเมือง และอนุมัติการขอขึ้นกับเมืองอื่นหรือกรุงเทพฯ

แต่งตั้งเจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ และราชบุตร ส่วนใหญ่มักเป็นเพียงหลักการและวิธีการเท่านั้น
รับแรงงานจากเลข หรือรับสิ่งของจากส่วยจากหัวเมืองเหล่านั้น
 
พ.ศ. ๒๓๘๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้ราชวงศ์ (อิน) ขึ้นไปเกลี้ยกล่อมเจ้าเมืองอื่นที่ยังขัดขืนอยู่ ราชวงศ์ (อิน) ไปเกลี้ยกล่อมเจ้าเมืองวังและบุตรหลานบ่าวไพร่เจ้าเมืองเป็นอันมาก กับได้ท้าวเพี้ยเมืองสูง เพี้ยบุตโคดหัวหน้าข่า กะโล้และบ่าวไพร่เข้ามาสู่พระบรมโพธิสมภารเป็นอันมาก
.
พ.ศ. ๒๓๘๗ โปรดเกล้าฯ ให้ท้าวโรงกลาง พระเสนาณรงค์เป็นเจ้าเมืองพรรณานิคมยกบ้านพังพร้าวเป็นเมืองพรรณานิคม ตั้งเมืองกุสุมาลย์มณฑลให้ขึ้นกับเมืองสกลนคร ให้เพี้ยเมืองสูง ข่ากะโล้ เป็นหลวงอารักษ์อาญา (อรัญอาสา) เจ้าเมืองกุสุมาลย์มณฑลเมื่อ
.
พ.ศ. ๒๓๙๓ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้ท้าวโถงเจ้าเมืองมหาชัยเป็นอุปฮาดให้ท้าวเหม็นน้องชายอุปฮาด (โถง) เป็นราชบุตรเมืองสกลนคร
.
พ.ศ. ๒๓๙๖ เกิดเพลิงไหม้ในเมืองสกลนคร ทรัพย์สินเสียหายมาก ยังเหลืออยู่แต่พระเจดีย์เชิงชุมวัดธาตุศาสดาราม เจ้าเมือง กรมการพากันอพยพครอบครัวออกไปตั้งอยู่ดงบากห่างจากเมืองเดิมประมาณ ๕๐ เส้น
.
พ.ศ. ๒๔๐๐ ไทยโย้ย กรมการเมืองสกลนคร มีความคิดแตกแยกกันออกเป็น ๒ กลุ่ม พวกหนึ่งมีนายจารด้าเป็นหัวหน้าไปร้องสมัครขอเป็นเมืองขึ้นเมืองยโสธร อีกพวกหนึ่งมีเพี้ยติ้วซ้อยเป็นหัวหน้าไปร้องขอเป็นเมืองขึ้นเมืองนครพนม รัชกาลที่ ๔ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งนายจารด้าเป็นหลวงประชาราษฎร์รักษายกบ้านกุดลิงแขวงเมืองยโสธรเป็นเมืองวานรนิวาส ให้หลวงประชาราษฎร์รักษาเป็น เจ้าเมืองขึ้นกับเมืองยโสธร แต่เจ้าเมืองกรมการและราษฎรยังคงตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านแห่กุดชุมภูในแขวงเมืองสกลนครตามเดิม (ภายหลังเมืองวานรนิวาสเปลี่ยนการปกครองกลับมาขึ้นเมืองสกลนครตามเดิม) และโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านม่วงน้ำยามเป็นเมืองอากาศอำนวย ให้เพียงติ้วซ้ายเป็นหลวงผลานุกูลเป็นเจ้าเมือง ขึ้นกับเมืองนครพนม
.
พ.ศ. ๒๔๐๑ เจ้าเมือง กรมการ และราษฎรเมืองสกลนครที่ไปตั้งอยู่ที่ดงบาก เพราะอัคคีภัยพากันอพยพครอบครัวกลับภูมิลำเนาเดิม ราชวงศ์ (อิน) ถึงแก่กรรม
.
พ.ศ. ๒๔๐๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านโพหวาเป็นเมืองภูวดลสอาง และให้ราชบุตร (เหม็น) เป็นพระภูวดลบริรักษ์เป็นเจ้าเมือง และโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านโพนสว่างหาดยาวริมน้ำปลาหางเป็นเมืองสว่างแดนดิน โดยให้ท้าวเทพกัลยาหัวหน้าไทยโย้ยเป็นเจ้าเมืองให้นามว่า พระสิทธิศักดิ์ประสิทธิ์ ขึ้นกับเมืองสกลนครในปี พ.ศ. ๒๔๐๖ นี้เองเกิดฝนแล้งที่เมืองร้อยเอ็ดและเมืองอุบล ราษฎรต่างได้รับความอดอยาก พากันอพยพครอบครัวมาอยู่ในเขตเมืองสกลนครเป็นอันมาก เพราะเมืองสกลนครยังมีชาวนาในบ้านเมืองอยู่บ้าง ประกอบกับการหาของป่าพอเลี้ยงตัวไปได้ในปีต่อมาเกิดฝนแล้งท้านาไม่ได้ในเมืองสกลนคร แต่ราษฎรก็มิได้อพยพออกไปจากเมืองอาศัยของป่าและท้านาแซง (นาปรัง) พอประทังชีวิตใน
.
พ.ศ. ๒๔๑๐ ปลายรัชกาลที่ ๔ ได้โปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ปิด บุตรอุปราชตีเจา (คำสาย) เป็นราชวงศ์ และให้ท้าวลาดบุตรอุปฮาด (โถง) เป็นราชบุตรเมืองสกลนครแทนตำแหน่งราชวงศ์และราชบุตรที่ว่างอยู่
.
พ.ศ. ๒๔๑๕ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ พวกข่ากระโล้ เมืองกุสุมาลย์ เกิดการแย่งชิงอำนาจกัน ท้าวขัตติยไทยข่ากระโล้ ขอขึ้นต่อเมืองสกลนคร โดยแยกออกจากเมืองกุสุมาลย์ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านนาโพธิ์แขวงเมืองสกลนครขึ้นเป็นเมืองโพธิไพศาลนิคม และตั้งให้ท้าวขัตติยเป็นพระไพศาลสีมานุรักษ์ เป็นผู้ปกครองเมืองต่อไปในปีนี้พระยาประเทศธานี เจ้าเมืองได้ขออนุมัติตั้งตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าราชการเมือง เพราะเมืองสกลนครมีเมืองขึ้นถึง ๖ เมือง จึงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท้าวโง่นคำเป็นพระยาศรีสกุลวงศ์ ให้เป็นผู้ช่วยราชการเมืองสกลนคร
.
พ.ศ. ๒๔๑๘ เกิดการจลาจลของจีนฮ่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยามหาอำมาตย์ (ชื่น) เป็นแม่ทัพคุมทหารกรุงเทพฯ กับไพร่พลหัวเมืองลาวไปตั้งทัพสู้ที่เมืองหนองคาย เมืองสกลนคร ได้ยกพลไปช่วย ๑,๐๐๐ คน โดยมีราชวงศ์ (ปิด) กับพระศรีสกุลวงศ์ (โง่นคำ) เป็นหัวหน้า และรบกับจีนฮ่อจนได้ชัยชนะ
.พ.ศ. ๒๔๑๙ พระยาประเทศธานี (คำ) ถึงแก่กรรม เมืองสกลนครเกิดโรคระบาดร้ายแรงอุปฮาด (โถง) กับราชบุตร (ลาด) ก็ถึงแก่กรรมด้วยโรคนี้ ราษฎรต่างล้มตายเป็นจ้านวนมาก ทางราชการได้แต่งตั้งให้ราชวงศ์ (ปิด) เป็นผู้รักษาราชการเมือง
.
พ.ศ. ๒๔๒๐ โปรดเกล้าฯ ให้พระศรีสกุลวงศ์ผู้ช่วย (โง่นคำ) เป็นอุปฮาด ให้ท้าวฟอง บุตรพระประเทศธานี (คำ) เป็นราชวงศ์เมืองสกลนคร และในปีต่อมาได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ราชวงศ์(ปิด) เป็นพระยาประจันตประเทศธานีเป็นเจ้าเมืองสกลนครต่อไป
.
ในปี พ.ศ. ๒๔๒๔ รัชกาลที่ ๕ ได้โปรดเกล้าให้เจ้าเมืองและกรมการเมืองสกลนคร ลงไปกรุงเทพฯ เพื่อร่วมสมโภชพระนครครบ ๑๐๐ ปี ในงานนี้อุปฮาด (โง่นคำ) ได้คุมสิ่งของต่างๆ ลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในการสมโภชน์พระนครเป็นจ้านวนมาก โปรดพระราชทานเหรียญสัตพรรษ์-มาลาเงินแก่เจ้าเมือง และกรมการเมืองเป็นที่ระลึก
.
ในปี พ.ศ. ๒๔๒๖ บาดหลวงอเลกซิสโปรดม ชาวฝรั่งเศส มาตั้งโรงเรียนสอนศาสนาโรมันคาทอลิกขึ้นที่บ้านท่าแร่ แขวงเมืองสกลนคร มีผู้คนเข้ารีตถือคริสต์เป็นจำนวนมาก และบาดหลวงได้สร้างวัดสร้างโบสถ์ขึ้นมากมาย ต่อมาเมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้นอ้านาจทางศาสนาของบาดหลวงลดลงราษฎรพากันออกจากศาสนาของบาดหลวงเป็นจ้านวนมาก โดยมากก็คงเป็นชาวบ้านท่าแร่แห่งเดียวที่ยังนับถือศาสนาโรมันคาทอลิกจนถึงปัจจุบันนี้
.
พ.ศ. ๒๔๒๗ เกิดขบถจีนฮ่อที่เมืองเขียงของทุ่งเชียงค้า (ทุ่งไหหิน) ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงรัชกาลที่ ๕ ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระยาราชวรานุกูลเป็นแม่ทัพคุมกองทัพไทยลาวยกไปปราบโดยตั้งทัพที่เมืองหนองคายเช่นเดิม พระยาอุปฮาด (โง่นคำ) และราชวงศ์ (ฟอง) เป็นนายทัพต่อมาได้รับข่าวว่าพระยาประจันตประเทศธานี (ปิด) เจ้าเมืองป่วยถึงแก่กรรมแม่ทัพจึงโปรดให้พระอุปฮาด (โง่นคำ) กลับมารักษาราชการบ้านเมือง
.
พ.ศ. ๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระอุปฮาด(โง่นคำ) เป็นพระยาประจันตประเทศธานี ปกครองเมืองสกลนครสืบต่อมา อีก ๒ ปี ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ ให้ท้าวเมฆบุตรราชวงศ์ (อิน) เป็นราชบุตรเมืองสกลนคร๗
.
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๓๔ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เสด็จขึ้นมาจัดการหัวเมืองลาวพวน และโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงหัวเมืองฝ่ายเหนือเป็นมณฑลลาวพวนพระองค์ทรงเป็นข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลลาวพวนเป็นพระองค์แรก ซึ่งระบบการปกครองแบบใหม่นี้เองที่เรียกว่าการจัดการปกครองแบบเทศาภิบาล อันหมายถึงการ “จัดให้มีข้าหลวงไปก้ากับรักษาราชการตามหัวเมืองทุกเมือง” และจากนี้ต่อไปเมืองสกลนครก็จัดรูปแบบการปกครองส่วนภูมิภาค เป็นระบอบมณฑลเทศาภิบาลสืบไปการตั้งข้าหลวงจากส่วนกลาง (กรุงเทพฯ) มาเป็นข้าหลวงรักษาราชการเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนี้
.
เป็นการขยายอำนาจจากส่วนกลางเข้ามาในภาคอีสาน เริ่มตั้งแต่ต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐบาลที่กรุงเทพฯ ต้องเผชิญกับการคุกคามของมหาอำนาจตะวันตก การที่จะรักษาไว้ซึ่งดินแดนของตนให้คงอยู่ต่อไป ก็อยู่ที่การกำหนดเส้นเขตแดนของตนให้แน่นอน และเป็นการรับรองของมหาอำนาจประการหนึ่ง การเข้ามาควบคุมหัวเมืองชั้นนอกเป็นการแสดงสิทธิของตนประการหนึ่ง และเพื่อป้องกันมิให้เกิดกรณีพิพาทกับมหาประเทศคู่สัญญาในหัวเมืองชั้นนอกอีกประการหนึ่ง ด้วยการจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
.
การจัดรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งถือได้ว่าเป็นแบบการปกครองอันสำคัญที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนำมาใช้ปรับปรุงระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคในสมัยนั้น ระบบการปกครองแบบนี้ เป็นระบบที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการส่วนกลาง ออกไปบริหารราชการในส่วนภูมิภาค เป็นรูปแบบของการจัดให้อำนาจการปกครองมารวมอยู่จุดเดียวกัน กล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นระบบการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง ริดรอนอำนาจเจ้าเมืองตามระบอบเก่า
.
การปกครองระบอบเทศาภิบาลอยู่ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๓๕-๒๔๕๘ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ตำนานพงศาวดารเมืองสกลนคร ฉบับพระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ) ได้กล่าวถึงรูปแบบการปกครองและเหตุการณ์ที่ส้าคัญ ๆ ไว้อย่างละเอียดพอสมควร ดังพอสรุปได้ว่าเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระยาสุริยเดช (กาจ) มาเป็นข้าหลวงเมืองสกลนครเป็นคนแรก และข้าหลวงเมืองสกลนครพระองค์นี้ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารราชการ กล่าวคือ ให้ยกเลิกกอง เปลี่ยนเป็นหมู่บ้าน และตำบล และให้มีการเลือกผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ปกครองหมู่บ้าน และตำบลด้วย
.
พ.ศ. ๒๔๓๖ ไทยเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้าโขงให้ฝรั่งเศส พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้สำเร็จราชการมณฑลลาวพวน เสด็จจากเมืองหนองคายมาตั้งบ้านเมืองที่ตำบลหมากแข้ง เปลี่ยนนามมณฑลลาวพวนเป็นมณฑลฝ่ายเหนือ
.
พ.ศ. ๒๔๓๗ จ่าช่วงไฟประทีปวังซ้าย (ช่วง) ได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงเมืองสกลนคร และได้มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบบริหารราชการบางอย่าง คือให้ตั้งกรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนาขึ้นและได้แบ่งเขตแดนเมืองสกลนครขึ้น เมืองนครพนม เมืองหนองหาร และเมืองมุกดาหารออกจากกันอย่างชัดเจน
.
พ.ศ. ๒๔๓๘ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เสด็จมาตรวจราชการเมืองสกลนคร และแต่งตั้งให้นายปรีดาราช เป็นข้าหลวงเมืองสกลนคร
.
พ.ศ. ๒๔๓๙ นายปรีดาราช ข้าหลวงถึงแก่กรรม โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งนายฉลองไนย -นารถ (ไมย) เป็นข้าหลวงเมืองสกลนคร และได้เปลี่ยนแปลงให้เมืองกุสุมาลย์และเมืองโพธิไพศาลไปขึ้นกับเมืองนครพนม ให้เมืองวาริชภูมิซึ่งเป็นเมืองขึ้นเมืองหนองหารเดิมมาขึ้นกับเมืองสกลนคร
.
พ.ศ. ๒๔๔๐ ในปีนี้พระราชทานเงินเดือนให้ข้าราชการเมืองสกลนครเป็นปีแรก เงินเบี้ยหวัดหรือเงินปี อย่างที่จัดมาแล้วให้ยกเลิก เงินประโยชน์ต่างๆ ตลอดจนค่าฤชาธรรมเนียมต่างๆ ให้เก็บเป็นของหลวงทั้งสิ้น
.
พ.ศ. ๒๔๔๒ รัชกาลที่ ๕ ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าวัฒนาเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลฝ่ายเหนือ เปลี่ยนชื่อมณฑลฝ่ายเหนือเป็นมณฑลอุดร
.
พ.ศ. ๒๔๔๔ มีคำสั่งให้นายฉลองไนยนารถ (ไมย) กลับไปรับราชการที่มณฑลอุดร และให้หลวงพิสัยสิทธิกรรม (จีน) เป็นข้าหลวงเมืองสกลนคร
.
พ.ศ. ๒๔๔๕ มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบการปกครอง ถือเมืองสกลนครรวมทั้งเขตแขวงให้เรียกว่า “บริเวณสกลนคร” ข้าหลวงประจ้าเมืองให้เรียกข้าหลวงประจ้าบริเวณเปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นอำเภอ คำว่าเจ้าเมืองเป็นนายอำเภอ คำว่าอุปฮาดเป็นปลัดอำเภอ ราชวงศ์เปลี่ยนเป็นสมุหอำเภอ ราชบุตรเปลี่ยนเป็นเสมียนอ้าเภอในปีนี้ได้ให้พระยาประจันตประเทศธานี เจ้าเมืองสกลนคร เป็นที่ปรึกษาข้าหลวงบริเวณสกลนคร เนื่องจากการเปลี่ยนระบบบริหารแผ่นดินดังกล่าวและชราภาพมากแล้ว
.
พ.ศ. ๒๔๔๙ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนาข้าหลวงเทศาภิบาลเสด็จกลับกรุงเทพฯ และโปรดเกล้าฯ ให้พระศรีสุริยราชวรนุวัตร (โพ) มาเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลอุดรแทน และในปีนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เสด็จมาตรวจราชการที่บริเวณสกลนครด้วย
.
พ.ศ. ๒๔๕๐ แต่งตั้งให้หลวงผดุงแคว้นประจันต์ (ช่วง) มาเป็นข้าหลวงบริเวณสกลนครข้าหลวงบริเวณคนเก้าให้ย้ายไปเป็นข้าหลวงบริเวณขอนแก่นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลอุดรได้แต่งตั้งให้ขุนราชขันธ์สกลรักษ์เป็นนายอำเภอพรรณานิคม พระบริบาลศุภกิจ (ค้าสาย) เป็นนายอำเภอวาริชภูมิ นายทะเบียนเป็นนายอำเภอสว่างแดนดินและพระอนุบาลสกลเขต (เล็กบริเวณ) รักษาการนายอำเภอเมือง
.
พ.ศ. ๒๔๕๓ ย้ายหลวงผดุงแคว้นประจันต์ ข้าหลวงบริเวณสกลนคร ไปเป็นข้าหลวงเมืองหล่มสัก และให้พระสุนธรชนศักดิ์ (สุทธิ) มาเป็นข้าหลวงบริเวณสกลนครในปีนี้พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๕ สวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ ๖ การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาลได้ด้าเนินการมาเรื่อยๆ และสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. ๒๔๕๘
.
ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองแบบใหม่ คือเมืองสกลนครเปลี่ยนอำเภอเมืองให้เป็นอำเภอธาตุเชิงชุม การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบันหลังจากที่ประเทศไทย ได้เปลี่ยนแปลงระบบการปกครองประเทศเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้วในปีต่อมาก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๔๗๖ อันเป็นแม่บทของการบริหารราชการแผ่นดินในปัจจุบัน เป็นการยกเลิกการจัดรูปการปกครองระบอบมณฑลเทศาภิบาลอย่างสิ้นเชิง ในส่วนของการปกครองในส่วนภูมิภาคนั้น เริ่มจัดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบเมื่อรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๔๐ (พระราชดำริการจัดระเบียบฯ นี้ เริ่มอย่างจริงจังในปี พ.ศ. ๒๔๓๕) ซึ่งเป็นการจัดรูปการปกครองส่วนภูมิภาคแบบเทศาภิบาลดังกล่าวแล้ว และได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ช่วงระยะเวลาแห่งการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากระบบมณฑลเทศาภิบาลนั้น


ที่มา : เพจ สกลนคร ซิตี้
แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า