วัฒนธรรมสูบปลาภาคอีสาน ป้องกันปลาหมอคางดำได้


ช่วงนี้ปรากฏการณ์ทางสังคม "ปลาหมอคางดำ" ซึ่งสามารถปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว สามารถแข่งขันกับปลาพื้นถิ่น กลายเป็นปัญหาสำคัญในหลายพื้นที่ สร้างปัญหาต่อระบบนิเวชสัตว์น้ำ

ปัญหาปลาหมอคางดำ ทำให้ผมนึกถึงวัฒนธรรมในภาคอีสาน การสูบหนองน้ำหาปลากินในเทศกาล เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ หรือการผ่าปลาการกุศล มันคือการล้างหนองหรือทำความสะอาดหนองน้ำ สืบทอดมาเป็นประเพณีมาตั้งแต่บรรพบุรุษถึงปัจจุบัน แต่จริง ๆ แล้วผมคิดว่ามันคือการจัดสมมดุลของระบบนิเวศของ น้ำ ดิน และสัตว์น้ำ

ด้วยวิถีการดำรงชีพของคนอีสาน จึงเป็นที่มาของการล้อเลียนเจ้าจั๊กแตนบอกปลาหมอคางดำว่า อย่าไปเลย ระวังจะเป็นปลาทอดเหมือนฉัน

ลองเอาวิถีคนภาคอีสาน ไปใช้กำจัดปลาหมอคางดำในระยะยาวดูนะครับ แล้วจะเข้าใจคำพูดที่ว่า "ทำไมปลาหมดคางดำไม่กล้ามาภาคอีสาน"




แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า