ไพหญ้าคา |
ใครเคยเรียก "เถียงนา" ว่าบ้านบาง ผมคนหนึ่งที่เติบโตจากการมีเถียงนานอน ถ้าให้คิดย้อนถามตัวเองว่าลำบากไหม ผมจำความรู้สึกนั้นไม่ได้แล้ว อาจเป็นเพราะว่าพ่อ-แม่ ดูแลไม่ให้ขาดแคลน หมายถึงมีความมั่นคงทางอาหาร ผ่านมาอายุ 30 ปีแล้ว ยังตั้งคำถามกับตัวเองอยู่ว่าปัจจุบันกับอดีตมันต่างกันไหมเริ่มรู้สึกมีความจำ จากเรื่องราวดีและไม่ดี คงช่วงปี 2540 เพราะรู้จักชื่อทักษิณ
ตอนนั้นผมยังร้องไห้อยากกินมาม่า และน่าสงสารนะไม่ค่อยมีร้านค้าซื้อมาม่า เลยไม่ค่อยเห็นว่าเงินบาทมีค่าเท่าไหร่ จึงติดนิสัยการอยู่เถียงนา เพราะรู้สึกว่าตนเองไม่มีความต้องการอะไรมาก แม้แต่ความมั่นคงในชีวิต คือใกล้หมดแล้วค่อยหาใหม่
พ่อจะแบ่งหลังคาเป็น 2-3 โซน เช่น บริเวณนอน บริเวณทำครัวหรือบริเวณเก็บอุปกรณ์การเกษตร ผมว่ามันคือ “นวัตกรรมภูมิปัญญา” ไม่รู้ว่าค้นพบมานานหรือยัง การเปลี่ยนหลังคาจะใช้ไพหญ้าใหม่บริเวณที่นอนเสมอ แล้วย้ายไพหญ้าเดิมไปใช้บริเวณครัวแทน ส่วนไพหญ้าเดิมตรงครัวนำไปทิ้ง
ที่เป็นแบบนี้อาจเป็นเพราะว่าเก็บเกี่ยวหญ้าคาได้แค่ปีละครั้ง ซึ่งเหตุการณ์ฝนรั่วคือสัญญาณเตือนให้เปลี่ยนหลังคา ถ้าไม่อยากนอนตากฝนทั้งเถียงนาในอีก 2 ปีข้างหน้า
หลังทำนาเสร็จ ต้นหญ้าคาที่เกิดเองอยู่ที่ไร่ เริ่มเแก่เต็มที่พอดี พ่อและพี่ผมจะไปเกี่ยวกองไว้เป็นจุด ๆ ตากทั้งไว้ให้แห้งประมาณ 1 สัปดาห์ อย่าปล่อยไว้นานนะ เดียวปลวกมากินหญ้าหมดก่อน เมื่อได้เยอะคาดการณ์พอแล้ว จะนำรถไถนาขนมาเก็บไว้บริเวณเถียงนาใต้ร่มไม้ ต่อไปเป็นหน้าที่แม่สางหญ้าคาให้เป็นเส้นสวยงาม
ในระหว่างนี้พ่อจะไปหาไม้กั้นหญ้า และหาเครือไม้เหนียว ๆ ส่วนใหญ่เป็นเครือย่านางนำมาใช้ทดแทนเชือก เมื่อวัสดุอุปกรณ์ครบแล้ว ขั้นสุดท้ายจะสร้างเทคโนโลยี ช่วยในการมัดจับเรียงเส้นหญ้าคา แต่ละไพให้สวยงามเสมอกัน
ก่อนเดินเครื่องทำการผลิต ต้องแช่เครือย่านาง พรหมน้ำหญ้าคาก่อนนะ จะช่วยทำให้ถักง่ายขึ้นและเสร็จเร็ว ขั้นตอนนี้ต้องออกแรงมือมัดแน่น ๆ ถ้าไพไม่ดีจะได้เปลี่ยนหลังคาบ่อยทุกปี
การใช้ประโยชน์จากหญ้าคงในปัจจุบัน
ประโยชน์การนำไพหญ้าคามามุงหลังคา จะช่วยลดความร้อนได้ดี ซึ่งปัจจุบันมีความต้องการใช้มาก ส่วนใหญ่นำมาสร้างกระต็อบน้อยไว้นั่งเล่นหน้าบ้าน สร้างสถานที่ใช้งานชั่วคราว 2-3 ปี ได้แก่ ร้านค้าริมทาง อาคารเก็บของ
ไพหญ้าคา มีราคาสูงเหมือนกันประมาณ 30-40 บาทต่อไพ เนื่องจากหาหญ้าคายาก มีการปรับดินใช้ประโยชน์ในปลูกพืชเศรษฐกิจแทน อีกทั้งไม่มีผู้สืบสานองค์ความรู้นี้ เนื่องจากมีนวัตกรรมมุงหลังคาสมัยใหม่มาแทน
หญ้าคากับการเอาตัวรอดของชีวิต
เข้าเรื่องดีไหม…เชื่อมกับเถียงนานั้นแหละ แถวบ้านผมใช้ไพหญ้าคามุงเถียงนา ปีไหนฝนตกหลังคารั่วแสดงว่าหญ้าเริ่มเน่าแล้ว ถ้าไพหญ้าเองจะทำหนาแน่นใช้ได้ 4-5 ปี อย่างพึ่งสงสารนะ เพราะว่า พ่อผมมีทักษะเปลี่ยนถ่ายหลังคาเถียงนาพ่อจะแบ่งหลังคาเป็น 2-3 โซน เช่น บริเวณนอน บริเวณทำครัวหรือบริเวณเก็บอุปกรณ์การเกษตร ผมว่ามันคือ “นวัตกรรมภูมิปัญญา” ไม่รู้ว่าค้นพบมานานหรือยัง การเปลี่ยนหลังคาจะใช้ไพหญ้าใหม่บริเวณที่นอนเสมอ แล้วย้ายไพหญ้าเดิมไปใช้บริเวณครัวแทน ส่วนไพหญ้าเดิมตรงครัวนำไปทิ้ง
ที่เป็นแบบนี้อาจเป็นเพราะว่าเก็บเกี่ยวหญ้าคาได้แค่ปีละครั้ง ซึ่งเหตุการณ์ฝนรั่วคือสัญญาณเตือนให้เปลี่ยนหลังคา ถ้าไม่อยากนอนตากฝนทั้งเถียงนาในอีก 2 ปีข้างหน้า
หลังทำนาเสร็จ ต้นหญ้าคาที่เกิดเองอยู่ที่ไร่ เริ่มเแก่เต็มที่พอดี พ่อและพี่ผมจะไปเกี่ยวกองไว้เป็นจุด ๆ ตากทั้งไว้ให้แห้งประมาณ 1 สัปดาห์ อย่าปล่อยไว้นานนะ เดียวปลวกมากินหญ้าหมดก่อน เมื่อได้เยอะคาดการณ์พอแล้ว จะนำรถไถนาขนมาเก็บไว้บริเวณเถียงนาใต้ร่มไม้ ต่อไปเป็นหน้าที่แม่สางหญ้าคาให้เป็นเส้นสวยงาม
หญ้าคาสร้างนวัตกรรมภูมิปัญญา
ในระหว่างนี้พ่อจะไปหาไม้กั้นหญ้า และหาเครือไม้เหนียว ๆ ส่วนใหญ่เป็นเครือย่านางนำมาใช้ทดแทนเชือก เมื่อวัสดุอุปกรณ์ครบแล้ว ขั้นสุดท้ายจะสร้างเทคโนโลยี ช่วยในการมัดจับเรียงเส้นหญ้าคา แต่ละไพให้สวยงามเสมอกัน
ก่อนเดินเครื่องทำการผลิต ต้องแช่เครือย่านาง พรหมน้ำหญ้าคาก่อนนะ จะช่วยทำให้ถักง่ายขึ้นและเสร็จเร็ว ขั้นตอนนี้ต้องออกแรงมือมัดแน่น ๆ ถ้าไพไม่ดีจะได้เปลี่ยนหลังคาบ่อยทุกปี
การใช้ประโยชน์จากหญ้าคงในปัจจุบัน
ประโยชน์การนำไพหญ้าคามามุงหลังคา จะช่วยลดความร้อนได้ดี ซึ่งปัจจุบันมีความต้องการใช้มาก ส่วนใหญ่นำมาสร้างกระต็อบน้อยไว้นั่งเล่นหน้าบ้าน สร้างสถานที่ใช้งานชั่วคราว 2-3 ปี ได้แก่ ร้านค้าริมทาง อาคารเก็บของ
ไพหญ้าคา มีราคาสูงเหมือนกันประมาณ 30-40 บาทต่อไพ เนื่องจากหาหญ้าคายาก มีการปรับดินใช้ประโยชน์ในปลูกพืชเศรษฐกิจแทน อีกทั้งไม่มีผู้สืบสานองค์ความรู้นี้ เนื่องจากมีนวัตกรรมมุงหลังคาสมัยใหม่มาแทน